วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

17 สัญญาณอันตราย ถึงเวลาต้องวางสมาร์ทโฟนเสียที.




       
 
          ยิ่งเทคโนโลยีพัฒนาไปมากเท่าไร สมาร์ทโฟนก็กลายเป็นสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับคนยุคนี้ แต่หารู้ไม่ว่าจริงๆ แล้วสมาร์ทโฟนก็มีส่วนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ด้วยนะ

          ปัจจุบันนี้สมาร์ทโฟนแทบจะกลายเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็มักจะเห็นแต่ผู้คนก้มหน้าก้มตาเล่นสมาร์ทโฟนของตัวเองกันไปหมด ซึ่งที่จริงแล้วการเล่นสมาร์ทโฟนมากเกินไปอาจจะส่งผลเสียทั้งระยสั้นและระยะยาว และยังก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาอีกด้วย วันนี้กระปุกดอทคอมจึงนำข้อมูลดี ๆ จากเว็บไซต์ huffingtonpost.com เกี่ยวกับ 17 สัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าคุณควรจะวางสมาร์ทโฟนลงซะที มาเล่าสู่กันฟังค่ะ

          คุณเป็นคนหนึ่งที่ติดสมาร์ทโฟนหรือเปล่า? ถ้าหากเพียงแค่คุณคิดว่าจะต้องใช้ชีวิตโดยขาดการติดต่อกับโลกออนไลน์แล้วรู้สึกแย่ล่ะก็ นั่นแปลว่าคุณติดสมาร์ทโฟนอย่างไม่ต้องสงสัย จากการวิจัยพบว่าคนเราใช้เวลาอย่างต่ำ 4 ชั่วโมงต่อวันในการอยู่กับมัน ซึ่งผลจากการใช้เวลาอยู่กับสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานก็อาจจะทำให้เกิดอาการหลาย ๆ อย่างขึ้น เช่น อาการตาเบลอ ปวดหัว หรือมีนิสัยบางอย่างเปลี่ยนไป ซึ่งนั่นล่ะคือสัญญาณเตือนว่าคุณควรจะวางสมาร์ทโฟนลงซะก่อนที่มันจะกลายเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต เราไปดูกันดีกว่าว่ามีสัญญาณอะไรบ้างที่กำลังเตือนให้คุณเลิกใช้สมาร์ทโฟนซะ

          1. สายตาของคุณเริ่มเบลอ

          การใช้สมาร์ทโฟนเป็นเวลานานเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการสายตาเบลอ จากการศึกษาในปี 2011 พบว่า มากกว่า 90% ของคนที่จ้องหน้าจอโทรศัพท์สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตมากกว่า 2 ชั่วโมงจะเกิดปัญหาปัญหาสายตาอย่างเช่น สายตาเบลอ และอาการตาแห้ง 

          2. เกิดอาการหวั่นวิตกเมื่อหาโทรศัพท์ไม่เจอ

          ถ้าคุณเคยรู้สึกลนลานและตกใจมากเวลาที่หาโทรศัพท์ไม่เจอ โดยแท้ที่จริงแล้วคุณอาจจะวางไว้ผิดที่ หรือไม่ก็ลืมนำมันติดตัวมาด้วยล่ะก็ นั่นแปลว่าคุณกำลังติดโทรศัพท์ขั้นหนักและควรจะเลิกเล่นมันเสียบ้าง การศึกษาในปี 2012 พบว่าผู้คนจำนวนกว่า 73% รู้สึกตื่นตระหนกราวกับดูหนังสยองขวัญเมื่อหาโทรศัพท์ไม่พบ

          3. ปวดหัวตุ๊บ ๆ

          การจ้องหน้าจอสมาร์ทโฟนนาน ๆ นอกจากจะทำให้เกิดปัญหากับสายตาแล้ว ยังเป็นสาเหตุทำให้ปวดหัวและเกิดอาการอ่อนเพลียอีกด้วย นอกจากนี้การใช้จ้องหน้าจอนาน ๆ ทำให้มีผลกระทบต่อสมอง โดยการศึกษาครั้งหนึ่งค้นพบว่ าสมาร์ทโฟนเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะสมองเสื่อม ซึ่งส่งผลต่อการรับรู้ของสมองและความทรงจำระยะสั้นอีกด้วย

          4. คุณทำงานเกินเวลา

          ถ้าเกิดว่าคุณพบว่าตัวเองนั้นเช็คอีเมล ถ้าคุณชอบเช็กอีเมลในช่วงมื้อเย็นหรือในงานเลี้ยงต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาเป็นเวลาบ่อยครั้ง นั่นแปลว่าคุณกำลังติดสมาร์ทโฟนแล้วล่ะ ในการวิจัยปี 2012 พบว่า เกือบ 80% ของคนที่ทำการสำรวจนั้นยอมรับว่า ได้ทำงานเกินเวลาโดยไม่รู้ตัวจากการเพียงแค่เช็กอีเมล หรือแค่เพียงส่งข้อความสั้น ๆ ที่เกี่ยวกับงาน ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้กินเวลาประมาณ 7 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เทียบเท่ากับการทำงานหนึ่งวันเลยทีเดียว

          5. นอนไม่เต็มอิ่ม

          การวางโทรศัพท์เอาไว้ข้างหมอนคือสาเหตุที่ทำให้คุณนอนหลับได้ไม่เต็มอิ่ม เพราะมันจะไปรบกวนการนอนของคุณ ทำให้นอนไม่เต็มอิ่ม จากการศึกษาเผยว่า การใช้เวลากับสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานก่อนนอนจะทำให้นอนหลับยากและยังทำให้ครึ่งหลับครึ่งตื่นอยู่ตลอดเวลา นี่ยังไม่นับรวมกับการที่คุณจะต้องเช็กการแจ้งเตือนทุกครั้งก่อนหลับตานอน ที่จะทำให้การนอนของคุณไม่ต่อเนื่องอีกด้วย ทางที่ดีที่สุดคือควรจะปิดโทรศัพท์และวางมันให้ห่างตัวก่อนนอนทุกครั้ง

          6. รู้สึกว่าโทรศัพท์สั่นอยู่ตลอดเวลา

          ถ้าคุณรู้สึกว่าโทรศัพท์สั่นแต่เมื่อหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาแล้วกลับไม่มีอะไรอยู่บ่อย ๆ นั่นแปลว่าคุณควรจะพึ่งการรักษา ทางการแพทย์แล้วล่ะ ในการศึกษาปี 2012 ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Computers of Human Behavior นั้นบอกว่า อาการเหล่านั้น คืออาการของโรค Phantom Vibration Syndrome ซึ่งจะเกิดขึ้นในหมู่วัยรุ่นอย่างน้อย 1 ครั้งต่อ 2 สัปดาห์ แต่ถ้าหากอาการหนักขึ้นก็อาจจะเกิดได้บ่อยขึ้น ซึ่งนั้นเป็นสัญญาณว่าคุณควรจะเลิกเล่นโทรศัพท์เสียที

          7. นิ้วมือเริ่มหงิกงอ

          การเล่นสมาร์ทโฟนติดต่อกันเป็นเวลานาน ครั้งละหลาย ๆ ชั่วโมง มีความเสี่ยงทำให้เกิดอาการนิ้วล็อก และตะคริวตามมือและนิ้วมือ คุณควรจะวางโทรศัพท์ลงแล้วยืดเส้นยืนสายบ้างเพื่อความปลอดภั

          8. ติด Hashtag ให้กับคำพูดหรือใช้ภาษาแชทตลอดเวลา

          หากคุณเริ่มพูดถึงเรื่องการติด Hashtag และใช้ภาษาแชทตลอดเวลา มันถึงเวลาที่คุณควรจะวางสมาร์ทโฟนลงบ้างได้แล้วล่ะ
          ทั้งนี้ อาการนิ้วล็อก เป็นกลุ่มอาการหนึ่งที่เกิดกลุ่มคนที่ใช้มือในการทำงานอย่างหนัก ซึ่งจะพบว่ามีอาการปวดและมีเสียงดังกึก ทำให้เส้นเอ็นไม่โก่งตัวออกเวลางอนิ้ว นอกจากนี้ยังมีอาการอักเสบของเส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นบวมและหนาตัว ทำให้ลอดผ่านห่วงลำบาก จึงรู้สึกเจ็บและเกิดอาการนิ้วล็อกตามมา

17 สัญญาณอันตราย ถึงเวลาต้องวางสมาร์ทโฟนเสียที

          9. ส่งข้อความหาใครบางที่อยู่ใกล้ ๆ แทนการพูดคุย

          การส่งข้อความหาคนใกล้ตัวแทนการพูดคุยเป็นสัญญาณของความล้มเหลวทางการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพราะการที่เราเลือกใช้การพูดคุยผ่านข้อความแทนการพูดคุยกันต่อหน้า ก็จะยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแย่ลง รีบวางสมาร์ทโฟนลงก่อนที่จะสูญเสียความสัมพันธ์เหล่านั้นไปเถอะ

          10. แม้แต่อาบน้ำก็ยังเอาโทรศัพท์เข้าไปด้วย

          หากคุณนำสมาร์ทโฟนของคุณติดตัวไปด้วยทุกที่แม้กระทั่งห้องน้ำ นั่นแปลว่าคุณกำลังติดสมาร์ทโฟนอย่างหนักและควรวางมันลงเสียที จากการศึกษาซึ่งจัดทำขึ้นโดยหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอย่าง LG พบว่ามีถึง 77% ของคนที่ใช้สมาร์ทโฟนที่นำโทรศัพท์ติดตัวไปด้วยทุกทีไม่ว่าจะเวลานอนหรือเข้าห้องน้ำก็ตาม

          11. สนใจที่จะโพสต์รูปของกินของคุณมากกว่าการกินมันเข้าไป

          ปัจจุบันมีคนมากกว่า 5 ล้านคนที่แท็กรูปภาพอาหาร และให้ความสนใจกับการแชร์รูปภาพอาหารของคุณมากกว่าที่จะสนใจคนที่นั่งอยู่ตรงหน้าซึ่งนั่นเป็นการทำลายความสัมพันธ์วิธีหนึ่ง จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย The University of Essex พบว่า การที่มีโทรศัพท์วางอยู่ให้เห็นในขณะที่กำลังพูดคุยกัน จะทำให้ทั้งสองฝ่ายสนใจอีกฝ่ายน้อยลง

17 สัญญาณอันตราย ถึงเวลาต้องวางสมาร์ทโฟนเสียที

          12. สบตาคนอื่นน้อยลง

          เทคโนโลยีเป็นสาเหตุทำให้คนสบตากันน้อยลง จากการศึกษาพบว่าโดยปกติแล้วเมื่อคนพูดคุยกันมักจะเกิดการสบตากันอย่างน้อย 30-60% ของบทสนทนาทั่วไป และสายตาเป็นตัวที่ช่วยในการสื่อสารทางอารมณ์ถึง 60-70% ดังนั้น ถ้าคุณรู้สึกว่าอยากจะจ้องหน้าจอมากกว่าที่จะมองตาคนอื่น นั่นได้เวลาเลิกเล่นโทรศัพท์แล้วล่ะ

          13. บ่นทุกอย่างลงในโซเชียลเน็ตเวิร์ก

          หากคุณพบเจอเรื่องอะไรก็ตามในแต่ละวันและเลือกที่จะแสดงความรู้สึกนึกคิดทุกอย่างลงในโซเชียลเน็ตเวิร์กแล้วนั้น มันเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังติดสมาร์ทโฟนอย่างหนัก ซึ่งการแชร์ทความรู้สึกนึกคิดทุกสิ่งทุกอย่างลงในโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นไม่ได้มีผลดีต่อตัวคุณเองเลยแม้แต่น้อย

          14. ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง

          เราคงเคยได้ยินข่าวว่ามีคนประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการที่ก้มหน้าก้มตาเล่นสมาร์ทโฟนโดยไม่ได้สนใจสิ่งรอบข้างใช่ไหมคะ ซึ่งนั่นเกิดจากการที่ติดสมาร์ทโฟนมากเกินไปโดยไม่ได้สนใจรอบข้าง ไม่ใช่เพียงเราจะเดือดร้อนหากเกิดอุบัติเหตุ แต่ครอบครัวและคนรอบข้างเราอาจจะเดือดร้อนตามไปด้วยจากพฤติกรรมที่ไม่ดีแบบนี้
 
          15. บุคลิกภาพแย่ลง

          เมื่อคุณติดสมาร์ทโฟนมาก ๆ จะทำให้คุณเป็นคนไหล่ตก เนื่องจากเวลาที่คุณก้มหน้าจิ้มโทรศัพท์ ร่างกายของคุณก็จะโน้มตัวไปข้างหน้าอัตโนมัติ หากอยู่ในท่านั้นนาน ๆ และบ่อยครั้งก็จะทำให้กระดูกหลังและคอเปลี่ยนรูป ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้ออักเสบและบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไป

17 สัญญาณอันตราย ถึงเวลาต้องวางสมาร์ทโฟนเสียที

          16. เลิกบันทึกเบอร์โทรศัพท์ลงมือถื

          ยังจำได้หรือไม่ว่าครั้งสุดท้ายที่บันทึกเบอร์โทรศัพท์ลงมือถือนี่มันเมื่อไร แล้วคุณจำได้หรือเปล่าว่าคุณใช้โทรศัพท์เพื่อโทรหาใครสักคนครั้งล่าสุดเมื่อไร หากคุณจำไม่ได้ นั่นแปลว่าคุณเลือกที่จะใช้โทรศัพท์ในการติดต่อสื่อผ่านทางข้อความมากกว่าใช้โทรศัพท์เพื่อโทรหาใครบางคน

          17. เสพติดการเซลฟี่

          หลายคนเสพติดการถ่ายรูปตัวเอง หรือที่เรียกว่าเซลฟี่ขนาดหนักจนถึงขนาดต้องถ่ายรูปในแทบจะทุกอิริยาบถ บางรายอาจถึงขั้นโพสต์เป็นคลิปวิดีโอลงในโซเชียลมีเดีย โดยผู้คนเหล่านี้อาจจะไม่ได้รู้เลยว่า บางครั้งการโพสต์รูปเซลฟี่ของตัวเองบ่อย ๆ นั้น อาจจะทำให้เกิดอันตรายกับตัวเองได้

          สมาร์ทโฟนเป็นเทคโนโลยีที่ดี
และสะดวกสบาย แม้ว่าสมาร์ทโฟนจะสามารถทำได้หลายอย่าง แต่ก็คงไม่สามารถแทนที่ความรู้สึกนึกคิดใด ๆ ได้ เพราะฉะนั้นอย่าให้เทคโนโลยีเข้ามาในชีวิตเรามากเกินไป ควรใช้อย่างพอเหมาะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีนะคะ

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ข้อแนะนำ

ข้อแนะนำในการใช้สมาร์ทโฟน

         1.เน้นใช้การพูดคุยหรือข้อความสียงผ่านทางสมาร์ทโฟนแทนการพิมพ์ หากมีความจำเป็นจริงๆ ควรติดอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้ากับแป้นพิมพ์ผ่านคอมพิวเตอร์พีซี

         2.หลีกเลี่ยงการใช้สมาร์ทโฟนนานๆ ควรใช้เท่าที่จำเป็น หากเลี่ยงไม่ได้ควรมีการบริหารนิ้วมือ ข้อมือ กล้ามเนื้อบ่าและคอรวมถึงหยุดพักสายตาจากการเพ็งหน้าจอ หรือใช้น้ำตาเทียมเพื่อไม่ให้ดวงตาแห้งเกินไป

       3.ควรใช้สมาร์ทโฟนให้เหมาะสมกับกาลเทศะ อย่าถึงขั้นเสพติด ขาดไม่ได้

         4.หากิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัว เพื่อนฝูง ไม่เก็บตัวอยู่คนเดียวเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

           เมื่อวัยรุ่นไม่สามารถหนีห่างจากเทคโนโลยีที่อยู่รอบตัวได้ จึงควรใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่างๆ อย่างชาญฉลาดและเหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดคุณค่ากับตนเองและผู้อื่น เพราะทุกอย่างย่อมมีทั้งด้านดีและด้านเสีย ขึ้นอยู่กับตัวเราว่าจะเลือกให้เป็นประโยชน์หรือโทษมากกว่ากัน





5 โรคฮิต

5 โรคที่มากับสมาร์ทโฟน

             1) โรคเศร้าจาก Fackbook  :  การศึกษาของมหาวิทยาลัยมิชิแกน พบว่า การใช้  Fackbook มากเกินไปอาจกลายเป็นการบั่นทอนความสุขและความพึงพอใจในการดำรงชีวิต เช่นโดดเดี่ยว เศร้า และเหงาหงอยมากขึ้นทั้งนี้ ผู้คนส่วนใหญ่ใช้ Fackbook เป็นเครื่องระบายความรู้สึกมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดความรู้สึกว้าเหว่

               2) ละเมอแชท (Sleep – Texting)  :  เป็นอาการชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการพิมพ์ข้อความแชทในมือถือของผู้ที่เข้าขั้น ติดอาการนี้จะเกิดขึ้นในขณะหลับ และเมื่อได้ยินเสียงข้อความส่งมา ร่างกายและระบบประสาทจะตอบสนองด้วยการหยิบมือถือมาแล้วพิมพ์ข้อความตอบกลับไปในทันที

             3) โรควุ้นในตาเสื่อม  :  โรคนี้เกิดขึ้นจากการใช้สายตาที่มากจนเกินไป โดยปกติแล้วในสมัยก่อนโรคนี้ส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุ อาการสำคัญ คือเวลามองจะเห็นภาพเป็นคราบดำๆ คล้ายหยากไย่ ซึ่งการตรวจสอบจะมองเห็นได้ชัดเจนในที่ๆ เป็นพื้นที่สีสว่างๆ เช่น ท้องฟ้าขาวๆ ผนังห้องขาวๆ ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ จะทำให้เกิดอาการปวดตา และมีปัญหาด้านสายตาในที่สุด

             4) โนโมโฟเบีย (Nomophobia)  :  เป็นโรคหวาดกลัวการไม่มีมือถือใช้ติดต่อสื่อสาร รวมถึงความเครียดเมื่อมือถืออยู่ในจุดอับสัญญาณจนติดต่อใครไม่ได้ ซึ่งจัดเป็นโรคกลัวทางจิตเวช เพราะมีอาการวิตกกังวลหรือกลัวเกินกว่าปกติ แสดงอาการด้วยการหยิบสมาร์ทโฟน ขึ้นมาเช็กอยู่ตลอดเวลา

             5) สมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face)  :  เป็นโรคที่เกิดจากการก้มลงมองและจ้องไปที่สมาร์ทโฟนมากจนเกินไป ทำให้เกิดการยืดของเส้นใยอิลาสติกบนใบหน้าทำให้แก้มบริเวณกรามเกิดการย้อยลงมา ส่วนกล้ามเนื้อบริเวณมุมปากจะตกไปทางคาง สาเหตุมาจากการนั่งก้มหน้ามองสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณคอและเพิ่มแรงกดบริเวณแก้ม




วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ผลกระทบ

ผลกระทบจากสมาร์ทโฟน


             ในด้านบวก สมาร์ทโฟนถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างบุคคลสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ทันทีเมื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟนสามารถทำงานต่างๆในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับคอมพิวเตอร์เพราะฉะนั้นจึงสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนั้นสมาร์ทโฟนยังมีระบบจีพีเอสในการค้นหาเส้นทางและบุคคลอีกด้วย




          ในด้านลบ สมาร์ทโฟนคือสิ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างลดลงจนถึงขั้นห่างเหินจนแทบจะกลายเป็นคนแปลกหน้ากัน เวลาส่วนใหญ่มักหมดไปกับการจดจ่ออยู่กับหน้าจอ สมาร์ทโฟนยังส่งผลกระทบต่อร่างกายอีกด้วยทั้งเรื่องเกี่ยวกับดวงตา นิ้ว ทางด้านจิตใจ และอีกมากมาย ทั้ผลการเรียน การทำงานก็ย้ำแย่ลง สร้างความเครียดสะสมตามมาอีก นอกจากนั้นยังทำให้บุคลิกภาพเสียอีกด้วย


ลักษณะที่บ่งบอกว่าติดสมาร์ทโฟน

ลักษณะของผู้ที่ติดสมาร์ทโฟน

      วัยรุ่นที่ใช้สมาร์ทโฟนมักตื่นสายและมีอาการอ่อนเพลียในตอนเช้า  หมดความสนใจในกิจกรรมรอบตัว มักอารมณ์เสียง่ายเมื่อพ่อแม่แสดงความกังวลเรื่องการใช้สมาร์ทโฟนของพวกเขา ถึงขั้นอาจนำไปสู่การโต้เถียงกัน มักรู้สึกหงุดหงิดหรือหดหู่เวลาที่ไม่ได้เล่นสมาร์ทโฟน และอาการเหล่านี้มักหายไปเมื่อพวกเขาได้เล่นสมาร์ทโฟน มีพฤติกรรมก้าวร้าวเวลาพ่อแม่สอดส่องพฤติกรรมการเล่นสมาร์ทโฟนของเขา และโต้เถียงพ่อแม่บ่อยขึ้น  จะเริ่มขาดสมาธิระหว่างทำสิ่งต่างๆ โดยไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องจนเสร็จ ชอบเปิดดูสมาร์ทโฟนเพื่อเล่นเกมส์หรือทำอย่างอื่นระหว่างทำการบ้านและกิจกรรมอื่นไปด้วย



สาเหตุติดสมาร์ทโฟน

สาเหตุที่วัยรุ่นติดสมาร์ทโฟน


       อาจแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลัก

         สาเหตุแรกคือ การหลั่งของสารโดปามีน (Dopamine) ภายหลังเมื่อได้ทำกิจกรรมแปลกใหม่นั่นคือ การเล่นสมาร์ทโฟน สารที่ว่านี้จะทำหน้าที่กระตุ้นให้ทำพฤติกรรมเดิมซ้ำ ทำให้เกิดวงจรการเล่นสมาร์ทโฟนจนติดเป็นนิสัยขึ้น เพราะเวลาเล่นสมาร์ทโฟน เด็กวัยรุ่นจะมีความรู้สึกพึงพอใจ เมื่อไม่ได้เล่นสมาร์ทโฟนก็มักหงุดหงิดหรือเซื่องซึมได้ 



         ส่วนสาเหตุที่สองคือ สิ่งต่างๆที่อยู่ในสังคมออนไลน์ที่ดึงดูดให้วัยรุ่นเสพติด ทั้งแอพพลิเคชั่นมากมาย เว็บไซต์ต่างๆนาๆ การติดต่อสื่อสารแบบไร้พรมแดน ที่ปัจจุบันมีรูปแบบในการสื่อสารแตกต่างกันออกไปตามแต่ล่ะความคิดของบุคคลที่ติดตั้งขึ้นมา ทั้ง Fackbook Twitter Line Chat และอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีวัยรุ่นบางส่วนที่ใช้สมาร์ทโฟนเพราะค่านิยมของบุคคลส่วนใหญ่อีกด้วย






ผลการสำรวจ

ผลการสำรวจและผลการศึกษาเกี่ยวกับผู้ใช้สมาร์ทโฟน

      สมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น รวมไปถึงการเปิดตัวสมาร์ทโฟน หลากหลายยี่ห้อ ทำให้จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก จากรายงานในปี ค.ศ. 2012 พบว่าวัยรุ่นอเมริกัน ร้อยละ 37 มีสมาร์ทโฟนใช้ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ.2011 กว่าร้อยละ 23 และมีถึงร้อยละ 95 ใช้บริการอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือของตน เช่นเดียวกันกับประเทศเกาหลี การใช้สมาร์ทโฟน ในเด็กและวัยรุ่น เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 7.5 ในปี ค.ศ.2009 เป็นร้อยละ 67 ในปี ค.ศ.2012
      พฤติกรรมของคนสมัยใหม่ไม่ว่าจะคนไทยหรือต่างประเทศ ต่างให้ความสนใจกับสมาร์ทโฟนมากกว่าสิ่งรอบข้าง โดย InsightExpress บริษัทผู้วิจัยตลาดในสหรัฐฯ ได้การวิจัยสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักศึกษาและคนทำงานตั้งแต่อายุ 18-30 ปี และการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายไอทีในอุตสาหกรรมต่างๆรวมทั้งสิ้น 3,600 คนใน 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย
      โดยผลการสำรวจเผยว่า วัยรุ่นยุคใหม่หรือที่เรียกกันว่า คนรุ่น Gen Y มีการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อดูอัพเดตข่าว และโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ก่อนจะลุกจากเตียงสูงถึง 90% ขณะที่ประเทศไทยมีอัตราสูงถึง 98%   นอกจากผลสำรวจเรื่องการใช้สมาร์ทโฟนก่อนลุกจากเตียงแล้ว ยังมีผลสำรวจในประเทศไทยที่น่าสนใจแบ่งย่อยออกไปอีก ดังนี้

         - ในวัยรุ่นไทย 9 ใน 10 คนระบุว่าใน 1 วัน พวกเขาเช็คสมาร์ทโฟนนับ
      ครั้งไม่ถ้วน
         - 91% ของผู้ตอบแบบสอบถามจะ รู้สึกกระวนกระวาย เหมือนมีอะไรบางอย่างขาดหายไปจาก ชีวิตหากไม่เช็คสมาร์ทโฟน
         - 100% ของผู้ตอบแบบสอบถามเช็คสมาร์ทโฟนบนเตียงนอน
         - 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้สมาร์ทโฟนในห้องน้ำ
         - 98% ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้สมาร์ทโฟนเพื่อส่งข้อความ เช็คอีเมล์ หรือโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คก่อน และหลังระหว่างรับประทานอาหาร
        - 100% ในวัยรุ่นชี้ว่าแอพพลิเคชั่นบนมือถือมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิต
        - 98% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าตนเองใช้เวลาในการติดต่อกับเพื่อนผ่านโลกออนไลน์ มากกว่าการพูดคุยเป็นการส่วนตัว
        - 87% ของผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์เฟสบุคตลอดเวลา


              การศึกษาในเด็กวัยรุ่น 195 คน โดยให้วัยรุ่นกลุ่มนี้ทำแบบทดสอบพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟน 2010 Smart-phone Addiction Rating     Scale (SARS) และ The Young Internet Addiction Scale (YIAS) และแบบทดสอบ Youth Self Report (K-YSR) เพื่อประเมินอาการทางจิต   และปัญหาด้านพฤติกรรม จากผลการทดสอบพบว่าในวัยรุ่นแต่ละราย    มีคะแนนจากแบบทดสอบทั้งสามไปในทิศทางเดียวกัน จากนั้นได้ทำการแบ่งกลุ่มวัยรุ่นออกเป็นสี่กลุ่มตามพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน ดังนี้   
            1) low Internet/low smartphone (low-low) users
                 2) high Internet/high smartphone (high-high) users
                 3) low Internet/high smartphone (low-high) users
                 4) high Internet/low smartphone (high-low) users

                  ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่มีการใช้อินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนต่ำ
        มีคะแนนจากแบบทดสอบทั้งสามต่ำกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในทางตรงกันข้ามกลุ่มที่มีการใช้อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนสูง มีคะแนนจากแบบทดสอบสูงกว่ากลุ่มอื่น
                 จากแบบทดสอบยังพบว่าในกลุ่มนี้มีอาการผิดปกติ เช่น อาการลงแดงหากไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ต สมาร์ทโฟน มีปัญหาทางการคิด มีอาการซึมเศร้าหรือกระวนกระวาย สมาธิสั้น และมีอารมณ์ฉุนเฉียวมากกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งมีโอกาสส่งผลต่อการเข้าสังคมและพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของวัยรุ่นได้